วันเสาร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

หนูขอจัดสวนถาดเน้อครู

ได้ตามความต้องการ เรียนเรื่องระบบนิเวศก็เลยให้สำรวจแล้วนำมาออกแบบระบบนิเวศ


student's task



student's task



student's task



student's task



student's task



student's task


ชมเพื่อนๆ และผลงานทั้งหมดที่นี่..คลิกสิ

วันจันทร์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

รวมผลงานการวาดภาพโปสเตอร์ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาลท่าอิฐ

นำผลงานเด็กที่คัดมาโดยเฉพาะให้ชมฝีมือกัน แม้จะไม่ได้สวยแบบมือหนึ่ง แต่ความคิดในการสื่อออกมาเกี่ยวกับการรณรงค์สภาพแวดล้อม หรือมลพิษต่างๆ ก็ดูไม่น้อยหน้าหลายคนทีเดียวครับ




poster of Tha-It'student



poster of Tha-It'student



poster of Tha-It'student



Poster of Tha - it school


ดูทั้งหมดที่
คลิกคลิกที่นี่

วันพฤหัสบดีที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

ช่วงช่วง หลินฮุ่ย


เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 51 ได้มีโอกาสไปเชียงใหม่ ก็เลยไปเที่ยวสวนสัตว์เชียงใหม่ก็เลย... นำภาพน่ารักๆ ของหมีแพนดาช่วงช่วงและหลินฮุ่ยในอิริยาบถที่กำลังหยอกล้อเล่นกันอย่างสนุกสนาน ตอนนี้กำลังตัดต่อวิดีโอคลิปอยู่ จะนำมาให้ชมในไม่ช้านี้ครับ ดูภาพเหล่านี้ไปพลางๆก่อนนะครับ คนแนะนำประกาศว่า แพนดาใช้เวลา 14 ชั่วโมงในการกินอาหาร 9 ชั่วโมงในการนอนหลับพักผ่อน ที่เหลือ 1 ชั่วโมง เล่น และ กิน ผมก็โชคดรสิที่ได้เห็นมันเล่น วิ่งไล่จนเหนื่อยเนี่ย

panda
ชมทั้งหมดที่ คลิกที่นี่ ส่วนด้านล่างนำมาฝากกันครับ น่ารักๆ






ชมวีดีโอทั้งหมดที่นี่

โรคสมาธิสั้น

คุณพ่อคุณแม่เคยสงสัยบ้างไหมว่า ทำไมลูกน้อยของคุณถึงซนสุดๆ ห้ามเท่าไหร่ไม่ฟัง เกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง และมีปัญหาทางด้านการเรียน คุณครูเรียกผู้ปกครองเข้ามาพบบ่อยๆ ตลอดจนปัญหาเด็กทะเลาะกัน อาการเหล่านี้ ล้วนเป็นสิ่งที่ต้องเฝ้าสังเกตว่าลูกตัวน้อยของเราผิดปกติหรือไม่.เรามาดูกันค่ะกับ โรคสมาธิสั้น

อาการที่ควรพิจารณาว่าเด็กผิดปกติหรือไม่
- เด็กวอกแวกง่าย นั่งหยุกหยิก หยิบโน่นจับนี่ตลอด
- ชอบชวนเพื่อนคุย และลุกไปโน่นมานี่บ่อย ๆ
- ซน เล่นมาก เกิดอุบัติเหตุง่าย
- ชอบแซงคิวบางทีก็ชอบขัดจังหวะหรือสอดแทรกขณะที่เพื่อนๆกำลังเล่นกันอยู่
- ทำงานไม่เสร็จเป็นชิ้นเป็นอัน
- ใจร้อน วู่วามง่าย ทำอะไรแบบปุบปับและรุนแรง
- ทำผิดกฎระเบียบบ่อย ๆ
- หุนหันพลันแล่น จนถูกมองว่าเป็นเด็กดื้อ ก้าวร้าว
- ชอบก่อความวุ่นวายและไม่เชื่อฟัง

วิธีดูแลลูกซนสมาธิสั้น
ถ้าใครไม่มีลูกซนสมาธิสั้นคงจะไม่เข้าใจว่า "ซนยิ่งกว่าลิง มันเป็นอย่างไร" บางครั้งเวลาผมตรวจคนไข้ดังกล่าวในเวลาแค่ชั่วโมงเดียวยังรู้สึกว่าอยากจะจับคนไข้มาล๊อคติดกับเก้าอี้ตรวจเลยทีเดียวเพราะห้องตรวจมันกระจัดกระจายและวุ่นวายไปหมด! นี่แค่เราเจอเจ้าตัวแสบแค่ไม่นานนะเนี่ยเรายังรู้สึกเหนื่อยเอาการ ถ้าเรา ต้องมีลูกแบบนี้ขอไม่มีซะดีกว่า ( ผู้เขียนยังโสดนะครับ ) ต้องขอยอมรับจริงๆว่าความผูกพันของพ่อแม่ลูกนั้นมันยิ่ง ใหญ่กว่าสิ่งใดทั้งหมดจริงๆ ถึงแม้ลูกจะเป็นอย่างไรพ่อแม่ก็ยังเลี้ยงลูกได้เสมอ วันนี้ขอปรบมือให้กับคุณพ่อคุณแม่ที่มีลูกซนสมาธิสั้นทุกคนที่ท่านอดทนดูแลเจ้าจอมยุ่งได้โดยตลอด อย่างไรก็ตามผมขอให้ความรู้เล็กๆน้อยๆเพื่อเป็นประโยชน์กับคุณพ่อคุณแม่บ้างไม่มากก็น้อย
โรคซนสมาธิสั้นนั้น เชื่อว่าเกิดจากความผิดปรกติของสมองส่วนหน้าที่ปรกติแล้วจะมีกลุ่มของ cell ประสาทที่ทั้งสั่งงานให้กล้ามเนื้อของร่างกายทำงานเช่นขณะนี้สมองส่วนหน้าของผมสั่งให้ผมพิมพ์แป้น computer เป็นต้น ขณะเดียวกันก็จะมี cell ประสาทของสมองส่วนหน้าอีกกลุ่มหนึ่ง(Inhibitory neurons)ทำหน้าที่กลั่นกรองยับยั้งไม่ให้ cell กลุ่มแรก ทำหน้าที่อยู่ตลอดเวลามากเกินไป เช่นขณะที่ผมพิมพ์แป้น computer อยุ่ถ้ามีเสียงรถวิ่งผ่าน ผมก็จะรับรู้ได้แต่จะไม่ ถึงกับเสียสมาธิลุกไปดูจนงานของผมเป็นอันไม่เสร็จกัน หรือถ้ามีใครเปิดTVผมก็จะรับรู้แต่ไม่ถึงกับต้องเสียสมาธิไปดูจนไม่ต้องทำงานต่อกัน อีกตัวอย่างหนึ่งที่เห็นชัดคือ สมมติว่ามีใครมาแกล้งหยอกโดยพูดล้อเล่นธรรมดา คนปรกติทั่วไปอย่างมากก็แค่โกรธและด่ากลับแต่จะไม่ถึงกลับชกเปรี้ยงเข้าให้โดยไม่พูดพล่ามทำเพลงซึ่งเกิดจากการควบคุมของ Inhibitory neurons นั่นเอง เด็กที่เป็นโรคซนสมาธิสั้นนั้น มีความผิดปรกติของสมองส่วน Inhibitory neurons นี้จึงทำให้ขาดความ ยับยั้งชั่งใจ ขาดสมาธิ ทำให้ถูกดึงความสนใจได้ง่าย ทำงานอะไรก็ไม่เสร็จ เรียนหนังสือไม่ได้ หรือมักจะซนมากๆ ไม่กลัวจะเกิดอุบัติเหตุเอาเสียเลย หรือมักจะทำร้ายเพื่อนบ่อยๆจนถูกกล่าวหาว่าเป็นเด็กเกเร มีการศึกษาที่น่าสนใจของต่างประเทศว่าเมื่อนำกลุ่มนักโทษ หรือกลุ่มเด็กอันธพาลข้างถนนที่ถูกจับมาศึกษาพบ ว่ามีประวัติในวัยเด็กว่าเป็นโรคซนสมาธิสั้นอยู่ เปอร์เซ็นต์สูงทีเดียว! ดังนั้นถ้าคุณพ่อคุณแม่ที่มีลูกซนสมาธิสั้นถ้าขาดความเข้าใจในตัวเด็กแล้วจะทำให้เด็กกลุ่ม นี้สร้างปํญหาในสังคมได้ในอนาคต
วิธีการดูแลเด็กกลุ่มนี้อาศัยการรักษา 2 อย่างเป็นหลักคือ การให้ยารักษาและการปรับพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ การใช้ยานั้นจะใช้ยาที่เรียกว่า Methylphenidate ( Ritalin ) ซึ่งจะต้องอยู่ในความควบคุมของแพทย์เท่านั้น ยานี้มีผลข้างเคียงคือ เด็กจะดูเซื่องซึมมากจนคุณพ่อคุณแม่บางคนตกใจและไม่ยอมใช้ยาต่อซึ่งจริงๆแล้วแม้เด็กจะซึมลงแต่ก็จะมีสมาธิมากขึ้นจะเป็นผลดีกับเด็กในด้านการเรียนและช่วยลดพฤติกรรมวุ่นวายของเด็กลง จึงขอแนะนำให้ใช้ยาต่อตามแพทย์สั่งนะครับ นอกจากนี้เด็กอาจมีอาการปวดท้องน้ำหนักลดได้ซึ่งก็ต้องอยู่ในการดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด การรักษาที่มีความสำคัญอันยิ่งยวดไม่แพ้กันก็คือ การปรับพฤติกรรมไม่พึงประสงค์( behavior modification ) ซึ่งมีคร่าวๆดังนี้คือ
1.จัดเวลาทำการบ้านให้กับเด็กโดยค่อยๆ เพิ่มจากน้อยมามากเช่น 20 นาที ถ้าทำได้ก็ ค่อยๆเพิ่มเวลาเป็น 30 นาที 45 นาที 1 ชั่วโมงเป็นต้น ขณะที่ทำการ บ้านก็งดสิ่งรบกวนทั้งหมดเช่นห้ามเปิด TV ห้ามพี่น้องคนอื่นมาเล่นของเล่นให้เห็น อาจให้เด็กเลือกว่าจะเล่นก่อนทำการบ้าน หรือทำการบ้านแล้วค่อยเล่นก็ได้ ถ้าเด็กทำได้ก็ให้คำชมเชยถ้าเด็กดื้อไม่ทำตามข้อตกลงก็ต้องมีการลงโทษซึ่งรายละเอียดให้ปรึกษาแพทย์ครับ
2. จัดกิจกรรมที่อาศัยการเคลื่อนไหวที่ไม่เป็นอันตรายต่อของในบ้านเช่นการให้เด็กถูห้อง การกวาดห้องเพื่อให้ได้เคลื่อนไหว ร่างกายบ้างและอย่าลืมชมเชย เมื่อทำสำเร็จเพื่อสร้างความภูมิใจกับเด็กครับ
3. เก็บของที่มีค่าทั้งหลายทีจะเสียหายได้ง่ายเช่นเครื่องแก้ว( ประจำตระกูล ) ให้มิดชิดเช่นใส่กุญแจล๊อคในตู้ไว้มิฉะนั้นถ้าเด็กซนจนเสียหายท่านจะมีอารมณ์กับเด็กเปล่าๆซึ่งจริงๆแล้วไม่ใช่ความผิดของเด็กเลยเพราะเด็กขาดความยับยั้งชั่งใจนั่นเอง
4.จัดบ้านให้เรียบร้อยเพื่อลดอุบัติเหตุถ้าเด็กซน ( ทำ5ส เลยยิ่งดีครับ )
5.ปรึกษาและคุยกับคุณครูเพื่อให้เข้าใจเด็กและนำจดหมายแนะนำจากแพทย์ให้กับคุณครูเพื่อเป็นแนวทางในการควบคุมพฤติกรรมเด็ก
6. หลีกเลี่ยงการไปในที่ที่มีความวุ่นวายมากและต้องการสมาธิเช่นโรงหนังเพราะเด็กจะทำให้คุณพ่อคุณแม่ปวดหัวเปล่าๆ
7. ข้อสุดท้ายคือต้องเข้าใจเด็กว่าเด็กไม่ได้แกล้งซนแต่เป็นเพราะขาดความยับยั้งชั่งใจจริงๆคุณพ่อคุณแม่ต้องเข้าใจและให้กำลังใจเด็กเสมอและควรส่งเสริมการออกกำลังกายโดยที่คุณพ่อคุณแม่ควรมีเวลาออกกำลังกายกับเด็กด้วยเพื่อสร้างความรักความผูกพันกันครับ

โดยปภัสสโร

ขอบคุณข้อมูลจาก

http://sanookdee.th.gs/

การเขียนรายงานโครงงานวิทยาศาสตร์

การเขียนรายงานโครงงานวิทยาศาสตร์ เป็นการเสนอผลงานการดำเนินการเป็นเอกสาร จัดว่าเป็นขั้นตอนสำคัญอีกประการหนึ่งของโครงงาน เมื่อนักเรียนดำเนินการทำโครงงานจนครบขั้นตอนได้ข้อมูล ทำการวิเคราะห์ข้อมูล พร้อมทั้งแปรผล และสรุปผลแล้ว งานขั้นต่อไปที่ต้องทำคือ การเขียนรายงาน


การเขียนรายงานโครงงานวิทยาศาสตร์ เป็นวิธีสื่อความหมายที่มีประสิทธิภาพวิธีหนึ่ง เพื่อให้คนอื่น ๆ ได้เข้าใจแนวความคิด วิธีดำเนินงานศึกษาค้นคว้าข้อมูล ผลที่ได้ตลอดจนข้อสรุป และข้อเสนอแนะต่าง ๆ เกี่ยวกับโครงงานนั้น

การเขียนรายงานโครงงานวิทยาศาสตร์ ประกอบด้วยหัวข้อต่าง ๆ ดังนี้

1. ชื่อโครงงาน
2. ชื่อผู้จัดทำโครงงาน
3. ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษาโครงงาน
4. บทคัดย่อ
5. กิตติกรรมประกาศ (คำขอบคุณ)
6. ที่มาและความสำคัญของโครงงาน
7. วัตถุประสงค์ของการทำโครงงาน
8. สมมติฐานของการศึกษาค้นคว้า (ถ้ามี)
9. ขอบเขตของการทำโครงงาน
10.วิธีดำเนินการ
11.ผลการศึกษาค้นคว้า
12. สรุปผลและข้อเสนอแนะ
13. เอกสารอ้างอิง

1. ชื่อโครงงาน
ชื่อโครงงานเป็นสิ่งสำคัญประการแรก เพราะชื่อโครงการจะช่วยโยงความคิดไปถึงวัตถุประสงค์ของการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ และควรกำหนดชื่อโครงการให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์หลักด้วย การตั้งชื่อโครงงานของนักเรียนในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา นิยมตั้งชื่อให้มีความกะทัดรัดและดึงดูดความสนใจจากผู้อ่าน ผู้ฟัง แต่สิ่งที่ควรคำนึงถึง คือ ผู้ทำโครงงานวิทยาศาสตร์ ต้องเข้าใจปัญหาที่สนใจศึกษาอย่างแท้จริง อันจะนำไปสู่การเข้าใจวัตถุประสงค์ของการศึกษาอย่างแท้จริงด้วย เช่น โครงงานวิทยาศาสตร์ ชื่อ “ถุงพลาสติกพิชิตแมลงวันตัวน้อย” ซึ่งปัญหาเรื่องที่สนใจศึกษาคือถุงน้ำพลาสติกสามารถไล่แมลงวันที่มาตอมอาหารได้จริงหรือ จากเรื่องดังกล่าวผู้ทำโครงงานวิทยาศาสตร์ บางคนหรือบางคณะอาจสนใจตั้งชื่อโครงงานวิทยาศาสตร์ ว่า “การศึกษาการไล่แมลงวันด้วยถุงน้ำพลาสติก” หรือ “ผลการใช้ถุงน้ำพลาสติกต่อการไล่แมลงวัน” ก็เป็นได้อย่างไรก็ตามจะตั้งชื่อโครงการในแบบใด ๆ นั้น ต้องคำนึงถึงความสามารถที่จะสื่อความหมายถึงวัตถุประสงค์ที่ต้องการศึกษาได้ชัดเจน

2. ชื่อผู้จัดทำโครงงาน
การเขียนชื่อผู้รับผิดชอบโครงงานวิทยาศาสตร์ เป็นสิ่งดีเพื่อจะได้ทราบว่าโครงงานนั้นอยู่ในความรับผิดชอบของใครและสามารถติดตามได้ที่ใด

3. ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษาโครงงาน
การเขียนชื่อผู้ให้คำปรึกษาควรให้เกียรติยกย่องและเผยแพร่ รวมทั้งขอบคุณที่ได้ให้คำแนะนำการทำโครงงานวิทยาศาสตร์จนบรรลุเป้าหมาย

4. บทคัดย่อ
อธิบายถึงที่มาและความสำคัญของโครงงาน วัตถุประสงค์ วิธีดำเนินการ และผลที่ได้ตลอดจนข้อสรุปต่าง ๆ อย่างย่อประมาณ 300-350 คำ

5. กิตติกรรมประกาศ (คำขอบคุณ)
ส่วนใหญ่โครงงานวิทยาศาสตร์มักจะเป็นกิจกรรมที่ได้รับความร่วมมือจากหลายฝ่าย ดังนั้นเพื่อเป็นการเสริมสร้างบรรยากาศของความร่วมมือ จึงควรได้กล่าวขอบคุณบุคลากรหรือหน่วยงานต่าง ๆ ที่มีส่วนช่วยให้โครงงานนี้สำเร็จด้วย

6. ที่มาและความสำคัญของโครงงาน
ในการเขียนที่มาและความสำคัญของโครงงานวิทยาศาสตร์ ผู้ทำโครงงานจำเป็นต้องศึกษา หลักการทฤษฎีเกี่ยวกับเรื่องที่สนใจจะศึกษา หรือพูดเข้าใจง่าย ๆ ว่าเรื่องที่สนใจจะศึกษานั้นต้องมีทฤษฎีแนวคิดสนับสนุน เพราะความรู้เหล่านี้จะเป็นแนวทางสำคัญในเรื่องต่อไปนี้
- แนวทางตั้งสมมติฐานของเรื่องที่ศึกษา
- แนวทางในการออกแบบการทดลองหรือการรวบรวมข้อมูล
- ใช้ประกอบการอภิปรายผลการศึกษา ตลอดจนเสนอแนะเพื่อนำความรู้และ สิ่งประดิษฐ์ใหม่ที่ค้นพบไปใช้ประโยชน์ต่อไป
การเขียนที่มาและความสำคัญของโครงงาน คือ การอธิบายให้กระจ่างชัดว่าทำไม ต้องทำ ทำแล้วได้อะไร หากไม่ทำจะเกิดผลเสียอย่างไร ซึ่งมีหลักการเขียนคล้ายการเขียนเรียงความ ทั่ว ๆ ไป คือ มีคำนำ เนื้อเรื่อง และสรุป
ส่วนที่ 1 คำนำ :เป็นการบรรยายถึงนโยบาย เกณฑ์ สภาพทั่ว ๆ ไป หรือปัญหาที่มีส่วนสนับสนุนให้ริเริ่มทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ส่วนที่ 2 เนื้อเรื่อง :อธิบายถึงรายละเอียดเชื่อมโยงให้เห็นประโยชน์ของการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ โดยมี หลักการ ทฤษฎีสนับสนุนเรื่องที่ศึกษา หรือการบรรยายผลกระทบ ถ้าไม่ทำโครงงานเรื่องนี้
ส่วนที่ 3 สรุป :สรุปถึงความจำเป็นที่ต้องดำเนินการตามส่วนที่ 2 เพื่อแก้ไขปัญหา ค้นข้อความรู้ใหม่ ค้นสิ่งประดิษฐ์ใหม่ให้เป็นไปตามเหตุผลส่วนที่ 1

7. วัตถุประสงค์ของการทำโครงงาน
วัตถุประสงค์ คือ กำหนดจุดมุ่งหมายปลายทางที่ต้องการให้เกิดจากการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ ในการเขียนวัตถุประสงค์ ต้องเขียนให้ชัดเจน อ่านเข้าใจง่ายสอดคล้องกับชื่อโครงงาน หากมีวัตถุประสงค์หลายประเด็น ให้ระบุเป็นข้อ ๆ การเขียนวัตถุประสงค์มีความสำคัญต่อแนวทาง การศึกษา ตลอดจนข้อความรู้ที่ค้นพบหรือสิ่งประดิษฐ์ที่ค้นพบนั้นจะมีความสมบูรณ์ครบถ้วน คือ ต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ทุก ๆ ข้อ

8. สมมติฐานของการศึกษา
สมมติฐานของการศึกษา เป็นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่ผู้ทำโครงงาน ต้องให้ความสำคัญ เพราะจะทำให้เป็นการกำหนดแนวทางในการออกแบบการทดลองได้ชัดเจนและรอบคอบ ซึ่งสมมติฐานก็คือ การคาดคะเนคำตอบของปัญหาอย่างมีหลักและเหตุผล ตามหลักการ ทฤษฎี รวมทั้งผลการศึกษาของโครงงานที่ได้ทำมาแล้ว

9. ขอบเขตของการทำโครงงาน
ผู้ทำโครงงานวิทยาศาสตร์ ต้องให้ความสำคัญต่อการกำหนดขอบเขตการทำโครงงาน เพื่อให้ได้ผลการศึกษาที่น่าเชื่อถือ ซึ่งได้แก่ การกำหนดประชากร กลุ่มตัวอย่าง ตลอดจนตัวแปรที่ศึกษา
1. การกำหนดประชากร และกลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา คือ การกำหนดประชากรที่ศึกษาอาจเป็นคนหรือสัตว์หรือพืช ชื่อใด กลุ่มใด ประเภทใด อยู่ที่ไหน เมื่อเวลาใด รวมทั้งกำหนด กลุ่มตัวอย่างที่มีขนาดเหมาะสมเป็นตัวแทนของประชากรที่สนใจศึกษา
2. ตัวแปรที่ศึกษา การศึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์ ส่วนมากมักเป็นการศึกษาความสัมพันธ์เชิงเหตุและผล หรือความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรตั้งแต่ 2 ตัวแปรขึ้นไป การบอกชนิดของ ตัวแปรอย่างถูกต้องและชัดเจน รวมทั้งการควบคุมตัวแปรที่ไม่สนใจศึกษา เป็นทักษะกระบวนการ ทางวิทยาศาสตร์ที่ผู้ทำโครงงานต้องเข้าใจ ตัวแปรใดที่ศึกษาเป็นตัวแปรต้น ตัวแปรใดที่ศึกษาเป็น ตัวแปรตาม และตัวแปรใดบ้างเป็นตัวแปรที่ต้องควบคุมเพื่อเป็นแนวทางการออกแบบการทดลอง ตลอดจนมีผลต่อการเขียนรายงานการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ที่ถูกต้อง สื่อความหมายให้ผู้ฟังและ ผู้อ่านให้เข้าใจตรงกัน

10. วิธีดำเนินการ
วิธีดำเนินการ หมายถึง วิธีการที่ช่วยให้งานบรรลุตามวัตถุประสงค์ของการทำ โครงงาน ตั้งแต่เริ่มเสนอโครงการกระทั่งสิ้นสุดโครงการ ซึ่งประกอบด้วย
1. การกำหนดประชากร กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา
2. การสร้างเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล
3. การเก็บรวบรวมข้อมูล
4. การวิเคราะห์ข้อมูล
ในการเขียนวิธีดำเนินการให้ระบุกิจกรรมที่ต้องทำให้ชัดเจนว่าจะทำอะไรบ้าง เรียงลำดับกิจกรรมก่อนและหลังให้ชัดเจน เพื่อสามารถนำโครงการไปปฏิบัติอย่างต่อเนื่องและถูกต้อง

11. ผลการศึกษาค้นคว้า
นำเสนอข้อมูลหรือผลการทดลองต่าง ๆ ที่สังเกตรวบรวมได้ รวมทั้งเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลที่วิเคราะห์ได้ด้วย

12. สรุปผลและข้อเสนอแนะ
อธิบายผลสรุปที่ได้จากการทำโครงงาน ถ้ามีการตั้งสมมติฐาน ควรระบุด้วยว่าข้อมูล ที่ได้สนับสนุนหรือคัดค้านสมติฐานที่ตั้งไว้ หรือยังสรุปไม่ได้ อกจากนี้ยังควรกล่าวถึงการนำผล การทดลองไปใช้ประโยชน์ อุปสรรคของการทำโครงงานหรือข้อสังเกตที่สำคัญหรือข้อผิดพลาด บางประการที่เกิดขึ้นจากการทำโครงงานนี้ รวมทั้งข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงแก้ไข หากมีผู้ศึกษา ค้นคว้าในเรื่องที่ทำนองนี้ต่อไปในอนาคตด้วย

13. เอกสารอ้างอิง
เอกสารอ้างอิง คือ รายชื่อเอกสารที่นำมาอ้างอิงเพื่อประกอบการทำโครงงาน วิทยาศาสตร์ ตลอดจนการเขียนรายงานการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ ควรเขียนตามหลักการ ที่นิยมกัน

จาก

http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=free4u&group=23



ดูรูปเพิ่มเติมที่

http://handbillmania.flixya.com

ป้ายกำกับ

10 ปรากฎการณ์ประหลาด ผลกระทบวิกฤต "โลกร้อน" กบ กรด กระดาษอิเล็กทรอนิกส์ กว่าง กว่าง5เขา กว่างโซ้ง การเขียน การจัดระบบความคิด การทดลอง การประกวดกว่าง การเปลี่ยนแปลงรูปร่าง การศึกษา การอ่านหนังสือ เกมวิทยาศาสตร์ เกมออนไลน์ แก๊สโซฮอล์ ข่าววิทยาศาสตร์ ไขปริศนา ครูคารม ความหมายของเบส คอนกรีตทนไฟ เครื่องยิงอะตอม เครื่องเร่งอนุภาคขนาดใหญ่ โครงการทอดผ้าป่าขยะรีไซเคิล โดยเทศบาลเมืองอุตรดิตถ์ โครงงานวิทยาศาสตร์ โครเมียม งานอำลาอาลัยนักเรียนชั้น ป.6 และ ม. 3 ปี 2551 จักรวาล ช่วงช่วง หลินฮุ่ย เซิร์น โซเดียมคาร์บอเนต ด่าง ดาวน์โหลดรูปเพื่อนๆ ป.6/8 โรงเรียนเทศบาลท่าอิฐ จ.อุตรดิตถ์ ดูงานที่อัสสัมชัน เดินเครื่องสร้าง ตัวอย่างกรด ตัวอย่างเบส เตรียมตัวสอบ ท่าอิฐ เทศบาลท่าอิฐ ไทย บทความ เบส เบส (เคมี) แบบสมบูรณ์ ป.6 โปสเตอร์ผลงานนักเรียนชั้น ป. 6 ผลงานเด็ก แผนผังความคิด พาสเจอไรส์ (pasteurization) ภาพวาด ภาวะโลกร้อน แมลงปอ แมลงสาบ แม่เหล็ก ยิงอนุภาค รวมผลงานการวาดภาพโปสเตอร์ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาลท่าอิฐ ระบบนิเวศ รายชื่อนักเรียน ป. 6/8 ปีการศึกษา 2551 โรงเรียนเทศบาลท่าอิฐ เรื่องเร้นลับในอวกาศ โรงเรียนเทศบาลท่าอิฐ โรงเรียนเทศบาลท่าอิฐ อุตรดิตถ์ เปิดเทอมปีการศึกษา 2553 วันที่ 17 พค 53 เล่นเกม เล่นเกมฟรีๆ โลกถึงจุดจบ โลหะ วงจรชีวิต วงจรชีวิตของผีเสื้อ วงจรชีวิตแมลงปอ วัฏจักรชีวิต วัว วัสดุทนไฟ วิทยาศาสตร์ เวียดนาม สเตนเลส สมบัติของกรด สมาธิสั้น สวยๆ งามๆ ตามธรรมชาติ...ดอกไม้และแมลง สอบ สัตว์ สารละลายกรด สาเหตุโลกร้อน แสงสี หลุมดำ เหล็กกล้าไร้สนิม อนุภาคฮิกส์ อวัยวะภายใน อะลูมิเนียม แอมโมเนีย แฮดรอน acid A-net base CAI - คำถามวิทยาศาสตร์ชั้น ป.6 cern E-paper LHC mind mapping Storm surge