วันศุกร์ที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2551

โซเดียมคาร์บอเนต

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

โซเดียมคาร์บอเนต หรือ โซดา แอช สูตรเคมี คือ Na2CO3 เป็นสารประกอบเกลือของกรดคาร์บอนิก มีลักษณะเป็นผงสีขาว ไม่มีกลิ่น สามารถดูดความชื้นจากอากาศได้ดี ละลายได้ในน้ำ มีฤทธิ์เป็นด่างแก่เมื่อละลายน้ำ ละลายได้เล็กน้อยในแอลกอฮอล์ พบในขี้เถ้าของพืชหลายชนิดและสาหร่ายทะเล (จึงได้ชื่อว่า โซดา แอช เนื่องจาก แอช ในภาษาอังกฤษ หมายถึง ขี้เถ้า) เป็นสารเคมีที่ใช้ในอุตสาหกรรมหลายชนิด เช่น แก้ว เซรามิคส์ กระดาษ ผงซักฟอก สบู่ ผงฟูทำขนมปัง การแก้ไขน้ำกระด้าง

โซเดียมคาร์บอเนต พบได้ในธรรมชาติในเขตแห้งแล้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแหล่งแร่ที่เกิดจากทะเลสาบที่ระเหยแห้งไป ในสมัยอียิปต์โบราณ มีการขุดแร่ที่เรียกว่า เนทรอน (natron) (ซึ่งเป็นเกลือที่ประกอบด้วยโซเดียมคาร์บอเนต (หรือ โซดา แอช) และโซเดียมไบคาร์บอเนต (เบกกิ้ง โซดา) และมีโซเดียมคลอไรด์ (เกลือแกง) และโซเดียมซัลเฟต ปนอยู่เล็กน้อย) จากก้นทะเลสาบที่แห้ง ใกล้แม่น้ำไนล์ และนำมาใช้ในการทำมัมมี่ ใน ปี พ.ศ. 2481 (ค.ศ. 1938) พบแหล่งแร่โซเดียมคาร์บอเนตขนาดใหญ่ใกล้แม่น้ำกรีนริเวอร์ มลรัฐไวโอมิง สหรัฐอเมริกา ทำให้สหรัฐขุดแร่มาใช้แทนการผลิตทางกรรมวิธีทางเคมี

ในประเทศอื่น ๆ การผลิตโซเดียมคาร์บอเนตทำโดยกรรมวิธีทางเคมีที่เรียกว่า กระบวนการโซลเวย์ (Solvay process) ซึ่งค้นพบโดย เออร์เนส โซลเวย์ นักอุตสาหกรรมเคมีชาวเบลเยี่ยม ในปี พ.ศ. 2404 (ค.ศ. 1861) โดยเปลี่ยน โซเดียมคลอไรด์ (น้ำเกลือ) เป็น โซเดียมคาร์บอเนต โดยใช้ แอมโมเนีย และ แคลเซียมคาร์บอเนต (หินปูน) และสารที่เหลือจากกระบวนการมีเพียง แคลเซียมคลอไรด์ ซึ่งไม่เป็นพิษแม้ว่าอาจก่อให้เกิดความระคายเคืองได้ และ แอมโมเนียนั้นยังสามารถนำกลับมาใช้ได้อีก ทำให้กระบวนการโซลเวย์มีต้นทุนการผลิตที่ต่ำกว่ากรรมวิธีแบบเดิมมาก จึงถูกนำมาใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตโซเดียมคาร์บอเนตอย่างแพร่หลาย ในคริสต์ศตวรรษ 1900 โซเดียมคาร์บอเนต 90% ที่ผลิต ใช้วิธีการนี้ และยังคงใช้อยู่ในปัจจุบัน

เดิมนั้นการผลิตโซเดียมคาร์บอเนตทำโดยกระบวนเคมีที่เรียกว่า กระบวนการเลอบลังก์ (Leblanc process) ซึ่งค้นพบโดยนักเคมีชาวฝรั่งเศส ชื่อ นิโคลาส เลอบลังก์ ในปี พ.ศ. 2334 (ค.ศ. 1791) โดยใช้ โซเดียมคลอไรด์ (เกลือแกง) กรดซัลฟูริก (กรดกำมะถัน) แคลเซียมคาร์บอเนต (หินปูน) และถ่าน แต่กรดไฮโดรคลอริค (กรดเกลือ) ที่เกิดจากกระบวนการนี้ ทำให้เกิดมลพิษทางอากาศ และแคลเซียมซัลไฟด์ ที่เหลือจากกระบวนการทำให้เกิดปัญหาต่อสิ่งแวดล้อม แต่เนื่องจากโซเดียมคาร์บอเนตเป็นสารเคมีพื้นฐานในอุตสาหกรรมหลายชนิด ทำให้มีการผลิตโซเดียมคาร์บอเนตโดยกรรมวิธีนี้ และเป็นกรรมวิธีหลักมาจนถึงช่วงปี พ.ศ. 2423 - 2433 (ช่วง ค.ศ. 1880 - 1890) หลังการค้นพบกระบวนการโซลเวย์ กว่า 20 ปี โรงงานผลิตแคลเซียมคาร์บอเนตที่ใช้กระบวนการ เลอบรังค์แห่งสุดท้ายปิดลงในช่วงปี พ.ศ. 2463 (ค.ศ. 1920)

ข้อระวัง
- การกลืนหรือกิน อาจทำให้เกิดความระคายคอ
- การหายใจ สูดดม ก่อให้เกิดอันตราย ควรหลีกเลี่ยง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการได้รับเป็นเวลานาน
- การสัมผัสทางผิวหนัง ก่อให้เกิดความระคายเคือง อาจเกิดอาการแสบไหม้
- หากเข้าตา จะเกิดอาการระคายเคืองอย่างรุนแรง เป็นอันตรายได้

ป้ายกำกับ

10 ปรากฎการณ์ประหลาด ผลกระทบวิกฤต "โลกร้อน" กบ กรด กระดาษอิเล็กทรอนิกส์ กว่าง กว่าง5เขา กว่างโซ้ง การเขียน การจัดระบบความคิด การทดลอง การประกวดกว่าง การเปลี่ยนแปลงรูปร่าง การศึกษา การอ่านหนังสือ เกมวิทยาศาสตร์ เกมออนไลน์ แก๊สโซฮอล์ ข่าววิทยาศาสตร์ ไขปริศนา ครูคารม ความหมายของเบส คอนกรีตทนไฟ เครื่องยิงอะตอม เครื่องเร่งอนุภาคขนาดใหญ่ โครงการทอดผ้าป่าขยะรีไซเคิล โดยเทศบาลเมืองอุตรดิตถ์ โครงงานวิทยาศาสตร์ โครเมียม งานอำลาอาลัยนักเรียนชั้น ป.6 และ ม. 3 ปี 2551 จักรวาล ช่วงช่วง หลินฮุ่ย เซิร์น โซเดียมคาร์บอเนต ด่าง ดาวน์โหลดรูปเพื่อนๆ ป.6/8 โรงเรียนเทศบาลท่าอิฐ จ.อุตรดิตถ์ ดูงานที่อัสสัมชัน เดินเครื่องสร้าง ตัวอย่างกรด ตัวอย่างเบส เตรียมตัวสอบ ท่าอิฐ เทศบาลท่าอิฐ ไทย บทความ เบส เบส (เคมี) แบบสมบูรณ์ ป.6 โปสเตอร์ผลงานนักเรียนชั้น ป. 6 ผลงานเด็ก แผนผังความคิด พาสเจอไรส์ (pasteurization) ภาพวาด ภาวะโลกร้อน แมลงปอ แมลงสาบ แม่เหล็ก ยิงอนุภาค รวมผลงานการวาดภาพโปสเตอร์ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาลท่าอิฐ ระบบนิเวศ รายชื่อนักเรียน ป. 6/8 ปีการศึกษา 2551 โรงเรียนเทศบาลท่าอิฐ เรื่องเร้นลับในอวกาศ โรงเรียนเทศบาลท่าอิฐ โรงเรียนเทศบาลท่าอิฐ อุตรดิตถ์ เปิดเทอมปีการศึกษา 2553 วันที่ 17 พค 53 เล่นเกม เล่นเกมฟรีๆ โลกถึงจุดจบ โลหะ วงจรชีวิต วงจรชีวิตของผีเสื้อ วงจรชีวิตแมลงปอ วัฏจักรชีวิต วัว วัสดุทนไฟ วิทยาศาสตร์ เวียดนาม สเตนเลส สมบัติของกรด สมาธิสั้น สวยๆ งามๆ ตามธรรมชาติ...ดอกไม้และแมลง สอบ สัตว์ สารละลายกรด สาเหตุโลกร้อน แสงสี หลุมดำ เหล็กกล้าไร้สนิม อนุภาคฮิกส์ อวัยวะภายใน อะลูมิเนียม แอมโมเนีย แฮดรอน acid A-net base CAI - คำถามวิทยาศาสตร์ชั้น ป.6 cern E-paper LHC mind mapping Storm surge