วันจันทร์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2551

แสงสีกับชีวิตประจำวัน

ในชีวิตประจำวันของเรานั้น มีอีกอย่างที่เกี่ยวข้องกับเราเสมอ เรื่องนี้อาจจะทำให้เราเห็นข้อจำกัดที่ทำให้เราไม่มีตาที่ดีเหมือนงูหรือแมลงบางชนิด นั่นก็คือเรื่องของแสงสี
ใช่แล้ว อ่านไม่ผิด "แสงสี" ซึ่งถ้าใครที่เรียนศิลปะมาแล้วจะคุ้นกับคำว่าแม่สีมากกว่า แต่แสงสีกับแม่สีคนละอย่างกัน
แม่สีประกอบด้วยสามสี คือ แดง น้ำเงิน และเหลือง ซึ่งจะทำให้เราผสมแม่สีเหล่านั้นแล้วกลายมาเป็นสีอื่นๆ ตามความต้องการได้ แต่แสงสีเราจับต้องไม่ได้ เราจะมองเห็นได้ก็ต่อเมื่อมันไปกระทบกับอะไรสักอย่างซึ่งเราจะเรียกว่าฉาก เมื่อแสงสีไปกระทบกับฉากจึงจะมองเห็นแสงสีนั้น
แม่ของแสงสีมีทั้งหมด 3 แสงสีด้วยกัน คือแสงสีแดง แสงสีน้ำเงินและแสงสีเขียว ทำไมมีแค่สามแสงสี นักวิทยาศาสตร์ได้ทดลองแล้วว่า แสงสีต่างๆ ที่มีอยู่ในโลกนั้นเกิดจากการผสมกันของแสงสีทั้งสามนี้ทั้งสิ้น แล้วแสงสีเหล่านี้มาจากที่ไหน คำตอบก็คือดวงอาทิตย์นั่นเอง เพราะดวงอาทิตย์เป็นแหล่งพลังงานที่ให้ทั้งความร้อนและความสว่างแก่โลก ความสว่างนั่นเองก็คือแสง แต่ที่เรามองไม่เห็นแสงสีของอาทิตย์เพราะว่า แสงสีที่มาจากดวงอาทิตย์นั้นเป็นแสงขาว ที่เรียกแสงขาวก็เพราะแสงอาทิตย์ไปกระทบกับฉากสีขาวก็จะเป็นสีขาวนั่นเอง ขณะที่แสงสีแดงตกกระทบฉากสีขาว เราจะมองเห็นเป็นสีแดง เราก็เรียกแสงสีแดงนั่นเอง แต่ถ้าเราเอาแสงสีเขียวและแสงสีแดงปริมาณเท่าๆกันไปฉายผสมกันในจอสีขาวเราจะมองเห็นเป็นสีเหลือง หมายความว่า แสงสีเหลืองที่เราเห็นเกิดจากการรวมกันของแสงสีแดงและแสงสีเขียวในปริมาณที่เท่ากัน
เราจะเอาเรื่องนี้ไปอธิบายสิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบๆ ตัวได้ก็ต่อเมื่อเราได้รู้จักการทำงานของตัวเราเกี่ยวกับการรับความรู้สึกของการมองเห็นแสงสีต่างๆก่อน
ดวงตาของเราเป็นอวัยวะที่ทำให้เรามองเห็นสิ่งต่างๆ ภายในดวงตาของเราจะมีส่วนที่รับแสงสีที่มีชื่อว่า เรตินา ส่วนเรตินานี้เองที่จะมีหน่วยรับสัมผัสเกี่ยวกับแสงสี เพราะในเรตินาจะมีเซลล์ที่ทำหน้าที่รับแสงสีแดง แสงสีเขียว และแสงสีน้ำเงิน เมื่อเรามองไปยังวัตถุที่มีสีแดง แสงสีแดงจะไปกระตุ้นให้เซลล์รับรู้สีแดงในเรตินาทำงาน และส่งกระแสประสาทไปยังสมองแปลความทำให้เรารู้ว่านั่นคือสีแดง
เมื่อเรามองไปยังวัตถุที่มีสีเหลือง ทั้งแสงสีแดงและแสงสีเขียวจะไปกระตุ้นให้เซลล์ที่รับรู้แสงสีแดง และ แสงสีเขียวให้ทำงาน ทั้งสองจะส่งกระแสประสาทไปยังสมองให้เราแปลความว่าเรามองเห็นสีเหลือง แต่ถ้าไม่มีแสงสีใดไปกระตุ้นให้เซลล์รับแสงสีทำงานเลย เราจะแปลความว่าเป็นสีดำ ตรงข้ามกับสีขาวซึ่งจะเป็นการทำงานของเซลล์รับแสงสีทั้งสามให้ทำงานพร้อมกัน
คราวนี้เรามาอธิบายการมองเห็นสิ่งต่างๆ จากแสงของดวงอาทิตย์กันบ้าง ตัวอย่างเช่น ใบไม้สดที่เรามองเห็นเป็นสีเขียว ก็อธิบายได้ว่าเมื่อแสงสีที่มาจากดวงอาทิตย์ซึ่งประกอบด้วยแม่แสงสีหลักๆ สามแสงสีคือ แสงสีแดง แสงสีน้ำเงิน และแสงสีเขียว แต่ใบไม้สดมีสารที่เราเรียกว่าคลอโรฟิลล์นั้นทำหน้าที่ดูดกลืนแสงสีแดงและแสงสีน้ำเงินไว้ แต่ไม่ดูดกลืนแสงสีเขียว ทำให้แสงสีเขียวนั้นสะท้องออกจากคลอโรฟิลล์ในใบไม้ เข้าสู่ดวงตา เซลล์รับรู้แสงสีเขียวถูกกระตุ้นให้ทำงาน แปลส่งไปยังสมองบอกว่า ใบไม้มีสีเขียว อย่างนี้เป็นต้น ฉะนั้นถ้าใบไม้มีคลอโรฟิลล์น้อย เราจะมองเห็นสีเขียวน้อยลงด้วย และใบไม้แห้งไม่มีคลอโรฟิลล์ เราจะมองไม่เห็นสีเขียวในใบไม้แห้งเช่นกัน
หลักการรวมแสงสีที่เราควรรู้จักก็มีดังนี้แสงสีแดง + แสงสีเขียว = แสงสีเหลืองแสงสีแดง + แสงสีน้ำเงิน = แสงสีม่วงแดงแสงสีเขียว + แสงสีน้ำเงิน = แสงสีฟ้าแสงสีเขียว + แสงสีแดง + แสงสีน้ำเงิน = แสงสีขาวส่วนแสงสีอื่น ๆ ที่เรามองเห็นก็จะมีสัดส่วนของแสงสีต่างๆ ที่ไม่เท่ากัน ตามแต่โทน ถ้าโทนร้อนก็หมายถึง มีส่วนผสมของแสงสีแดงมาก โทนเย็นก็มีส่วนผสมของแสงสีน้ำเงินมากนั่นเอง
หลักการผสมของแสงสีเหล่านี้ ได้นำไปใช้ในการผลิตโทรทัศน์ คอมพิวเตอร์ มือถือ เครื่องฉายดิจิตอลทั้งหลาย และอื่นๆ ที่อาศัยการมองเห็นภาพ
สัตว์อื่นๆ เช่น งู จะมองเห็นสิ่งอื่นๆด้วยเช่น รังสีอินฟราเรด หรือรังสีความร้อน คนเรามองเห็นแค่รังสีของแสงเท่านั้น รังสีที่ต่ำกว่านี้(รังสีอินฟราเรด) หรือรังสีที่สูงกว่านี้(รังสียูวี) คนเราไม่สามารถรับสัมผัสได้ก็เลยมองไม่เห็นแต่สัตว์มีอวัยวะพิเศษในการรับสัมผัสรังสีที่ว่านี้ทำให้มันมีความพิเศษ งูจะมองเห็นสิ่งมีชีวิตในเวลากลางคืน เพราะสิ่งมีชีวิตทุกชนิดจะมีรังสีอินฟราเรดแผ่ออกจากร่างกายเสมอ ส่วนแมลงจะมองเห็นรังสียูวี จากใบไม้ ทำให้แมลงรับรู้ได้ว่าใบไม้ไหนที่อ่อนหรือแก่ โดยที่มันไม่ต้องเรียนรู้ แต่ได้จากการรับสัมผัสนั่นเอง
เมื่อคนเรารู้ดังนี้จึงได้ทำสิ่งประดิษฐ์เลียนแบบสายตางูหรือแมลง เช่น กล้องอินฟราเรดที่ใช้มากในกองทหารที่ต้องการรู้ความเคลื่อนไหวของศัตรู หรือจะเป็นเครื่องฉายแสงยูวี ที่สามารถตรวจสอบธนบัตรปลอม เป็นต้น

ป้ายกำกับ

10 ปรากฎการณ์ประหลาด ผลกระทบวิกฤต "โลกร้อน" กบ กรด กระดาษอิเล็กทรอนิกส์ กว่าง กว่าง5เขา กว่างโซ้ง การเขียน การจัดระบบความคิด การทดลอง การประกวดกว่าง การเปลี่ยนแปลงรูปร่าง การศึกษา การอ่านหนังสือ เกมวิทยาศาสตร์ เกมออนไลน์ แก๊สโซฮอล์ ข่าววิทยาศาสตร์ ไขปริศนา ครูคารม ความหมายของเบส คอนกรีตทนไฟ เครื่องยิงอะตอม เครื่องเร่งอนุภาคขนาดใหญ่ โครงการทอดผ้าป่าขยะรีไซเคิล โดยเทศบาลเมืองอุตรดิตถ์ โครงงานวิทยาศาสตร์ โครเมียม งานอำลาอาลัยนักเรียนชั้น ป.6 และ ม. 3 ปี 2551 จักรวาล ช่วงช่วง หลินฮุ่ย เซิร์น โซเดียมคาร์บอเนต ด่าง ดาวน์โหลดรูปเพื่อนๆ ป.6/8 โรงเรียนเทศบาลท่าอิฐ จ.อุตรดิตถ์ ดูงานที่อัสสัมชัน เดินเครื่องสร้าง ตัวอย่างกรด ตัวอย่างเบส เตรียมตัวสอบ ท่าอิฐ เทศบาลท่าอิฐ ไทย บทความ เบส เบส (เคมี) แบบสมบูรณ์ ป.6 โปสเตอร์ผลงานนักเรียนชั้น ป. 6 ผลงานเด็ก แผนผังความคิด พาสเจอไรส์ (pasteurization) ภาพวาด ภาวะโลกร้อน แมลงปอ แมลงสาบ แม่เหล็ก ยิงอนุภาค รวมผลงานการวาดภาพโปสเตอร์ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาลท่าอิฐ ระบบนิเวศ รายชื่อนักเรียน ป. 6/8 ปีการศึกษา 2551 โรงเรียนเทศบาลท่าอิฐ เรื่องเร้นลับในอวกาศ โรงเรียนเทศบาลท่าอิฐ โรงเรียนเทศบาลท่าอิฐ อุตรดิตถ์ เปิดเทอมปีการศึกษา 2553 วันที่ 17 พค 53 เล่นเกม เล่นเกมฟรีๆ โลกถึงจุดจบ โลหะ วงจรชีวิต วงจรชีวิตของผีเสื้อ วงจรชีวิตแมลงปอ วัฏจักรชีวิต วัว วัสดุทนไฟ วิทยาศาสตร์ เวียดนาม สเตนเลส สมบัติของกรด สมาธิสั้น สวยๆ งามๆ ตามธรรมชาติ...ดอกไม้และแมลง สอบ สัตว์ สารละลายกรด สาเหตุโลกร้อน แสงสี หลุมดำ เหล็กกล้าไร้สนิม อนุภาคฮิกส์ อวัยวะภายใน อะลูมิเนียม แอมโมเนีย แฮดรอน acid A-net base CAI - คำถามวิทยาศาสตร์ชั้น ป.6 cern E-paper LHC mind mapping Storm surge